เว็บไซต์คุณครู >> ครูชยุต

หน่วยที่ 2  โปรแกรม Photopea

ประกอบด้วยแผนการสอนทั้ง 4 บท ดังนี้

  บทที่ 4 : แนะนำโปรแกรม Photopea เบื้องต้น  (2 ชั่วโมง)

  บทที่ 5 : ส่วนประกอบของ Photopea (2 ชั่วโมง)  

  บทที่ 6 : รู้จักเครื่องมือ Toolbox และ Palette  (2 ชั่วโมง)

  บทที่ 7 : การทำงานกับ Layers  (2 ชั่วโมง)

 

 

        Photopea ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ นอกจากจะมีสีสันสวยงามขึ้นแล้ว ยังจัดการกับพาเนลหรือเครื่องมือที่จัดวางไม่เป็นระเบียบ ออกไปจากหน้าต่างการทำงานค่อนข้างมาก เช่น เพิ่มปุ่มคำสั่งและจัดเรียงปุ่มคำสั่งบางปุ่มใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องรู้จักกับส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้สามารถค้นหาและเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับหน้าต่าง Photopea ประกอบไปด้วยพาเนลและกล่องเครื่องมือที่วางอยู่บนพื้นที่ว่างซึ่งเปรียบเสมือนกับโต๊ะทำงาน ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งพาเนลและเครื่องมือไปยังจุดที่ต้องการได้ ส่วนประกอบสำคัญของหน้าต่างโปรแกรม มีรายละเอียดดังนี้ 

 

1.  บอกชื่อและคุณสมบัติของส่วนประกอบใน Photopea ได้

2.  บอกหน้าที่ของเมนูใน Photopea ได้

3.  ใช้งานส่วนประกอบต่างๆใน Photopea ได้อย่างถูกต้อง

4.  มีเจตคติที่ดีต่อการใช้งาน Photopea ในการออกแบบกราฟิก

 


 

  5.1 ส่วนประกอบของโปรแกรม Photopea

           Photopea นั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ หลายด้าน เช่น การสร้างตัวอักษร การตกแต่งภาพถ่าย
(Retouch) การสร้างภาพกราฟิก รวมถึงการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานให้สวยงามนั้น
ไม่ใช่เพียงแค่มีความคิดริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์ (Idea) ที่ดี แต่จะต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการเลือกใช้เครื่องมือ
แต่ละอย่างภายในโปรแกรมให้เหมาะสม ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มใช้งานโปรแกรมเราควรรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ 
ภายในโปรแกรมเสียก่อน       

  
1. เมนูบาร์ (Menu Bar)

เป็นแถบสำหรับควบคุมโปรแกรม ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

        File  ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่ เปิด ปิด บันทึกไฟล์ เป็นต้น

        Edit  รวมคำสั่งที่ใช้แก้ไขภาพ และปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม เช่น copy   แก้ไขเครื่องมือ 

        Image คำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี แสง ขนาดของภาพ  ขนาดของเอกสาร  โหมดสี และอื่น ๆ

        Layer  คำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ในด้านต่าง ๆ

        select  คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุ เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ 

        Filter  การใส่ Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ

        View   คำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก

        Window  คำสั่งในการเลือกใช้ เปิด/ปิดอุปกรณ์เสริม

        Help  คำสั่งแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและลายละเอียดของโปรแกรม


2. ออบชั่นบาร์ (Tool Options Bar) 

         เป็นส่วนที่ใช้เก็บเครื่องมือพื้นฐานในการทำงาน ในโปรแกรม             

3. กล่องเครื่องมือ (Tools Bar)


ประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือแต่ละชิ้นมีคุณสมบัติดังนี้

        Move  ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือก หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์

        Lasso   ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ

        Quick Serection Tool ใช้ระบายเพื่อเลือกพื้นที่ต้องการแก้ไข

        Crop  ใช้ตัดขอบภาพ

        Eyedropper  ใช้เลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ

        Healing Brush  ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ

        Brush   ใช้ระบายลงบนภาพ

        Clone Stamp  ใช้ทำสำเนาภาพ โดย copy ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย 

        History Brush ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะเดิมที่บันทึกไว้

        Eraser   ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ

        Gradient  ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ

        Blur    ใช้ระบายภาพให้เบลอ

        Dodge   ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น

        Pen   ใช้วาดเส้นพาธ (Path)

        Horizontal Type  ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ

        Path Selection  ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ

        Rectangle  ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป

        Hand  ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ

        Zoom   ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาพ

        Set Foreground Color และ Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี

        Quick  Mash   เปิดแสดงหน้ากระดาษ แบบ Full screen


4. ไตเติ้ลบาร์ (Title Bar)

         แสดงชื่อไฟล์ภาพที่เปิดใช้งานอยู่ 

5. พื้นที่การทำงาน (Work Space)

         ส่วนที่ใช้ในการสร้างงาน โดยการเปิดไฟล์ภาพเพื่อแก้ไขบนพื้นที่ใช้งาน หรือวาดภาพใหม่ลงไปบนพื้นที่ใช้งาน    

6. แถบสถานะ (Status Bar)

         แสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับภาพ  เช่น ขนาดไฟล์ภาพ เป็นต้น

7. พาเลท (Palette) 

 

       แถบคำสั่งควบคุมและใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ 

ส่วนประกอบของ Photopea

 

6.1  TOOLBOX กล่องเครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม

        Toolbox (ทูลบ็อก) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังรูป เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย

        เครื่องมือแต่ละชิ้นมีคุณสมบัติดังนี้

 

Move ใช้สำหรับเลือกพื้นที่บนภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือเลือกเป็นแถวคอลัมน์ ขนาด 1 พิเซล
Marquee ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือกไว้ของภาพ หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์
Lasso ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ
Magic Wand ใช้เลือกพื้นที่ด้วยวิธีระบายบนภาพ หรือเลือกจากสีที่ใกล้เคียงกัน
Crop ใช้ตัดขอบภาพ
Slice ใช้ตัดแบ่งภาพเพื่อบันทึกไฟล์ภาพย่อย ๆ ที่เรียกว่าสไลซ์ (Slice) สำหรับนำไปสร้างเว็บเพจ
Eyedropper ใช้เลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ
Healing Brush ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ
Brush ใช้ระบายลงบนภาพ
Clone Stamp ใช้ทำสำเนาภาพ โดยก๊อปปี้ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย หรือระบายด้วยลวดลาย
History Brush ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะเดิมที่บันทึกไว้
Eraser ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ
Gradient ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ
Blur ใช้ระบายภาพให้เบลอ
Bern ใช้ระบายเพื่อให้ภาพมืดลง
Dodge ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
pen ใช้วาดเส้นพาธ (Path)
Horizontal Type ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ
Path Selection ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ
Rectangle ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป
Hand ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
Zoom ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาด
set Foreground Color, Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี Foreground Color และ Background Color
เปิดแสดงหน้ากระดาษ แบบ Full screen

 

 


 

56.2  พาเลท (PALETTE)

        พาเลท (Palette) คือกลุ่มของหน้าต่างที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือ ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทำงาน

        1 Navigator เป็นพาเล็ตที่แสดงหน้าจอของรูปภาพที่ใช้งานอยู่ ทำหน้าที่สำหรับการปรับมุมมอง ของรูปภาพโดยสามารถคลิกที่ปุ่ม Zoom Slider เพื่อย่อหรือขยายมุมมองภาพได้

        2 info เป็นพาเล็ตสำหรับแสดงค่าสีแบบ RGB และ CMYK ของรูปภาพในรูปแบบของตัวเลข

        3 History เป็นพาเล็ตที่เก็บรายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อต้องการ ย้อนกลับ ไปใช้พาเล็ตเดิมหรือย้อนดูการทำงานที่ผ่านมา

        4 Color เป็นพาเล็ตสำหรับกำหนดสี Foreground และ Background โดยการเลื่อนแถบเพื่อปรับสี ตามต้องการ

        5 Swatches เป็นพาเล็ตที่กำหนดสีแบบสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกในการเลือกสี ผู้ใช้สามารถดูสี ที่ต้องการ และคลิกเลือกสีที่ต้องการ

        6 Style เป็นพาเล็ตที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบต่าง ๆ โดยการเลือกรูปแบบที่ต้องการ ได้แก่ ตัวอักษร

        7 Layer เป็นพาเล็ตสำหรับใช้ควบคุมการใช้งานเลเยอร์ต่าง ๆ

        8 Channels เป็นพาเล็ตที่แสดงการแยกสีของรูปภาพที่กำลังทำงานอยู่ ประกอบด้วยการแยกสีแบบ RGB, Red, Green, และ Blue

        9 Paths เป็นพาเล็ตที่ใช้แสดง Path ที่ถูกสร้างขึ้นในรูปภาพที่กำลังทำงาน

        ในการสร้างสรรค์ผลงานใน Photopea นั้น ควรมีการกำหนดขนาดของพื้นที่การทำงานให้ เหมาะสมกับงาน การเตรียมหาภาพจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้งานตามจุดมุ่งหมายของเรา สามารถเปิดไฟล์จากแหล่งภาพต่างๆ รวมทั้งการปรับย่อ ขยายมุมมองของภาพให้เหมาะสมตามความต้องการ และสามารถบันทึกงานที่สร้างไว้ได้อย่างถูกวิธี

 

7.1  เลเยอร์ (LAYER)

       Layer คือ ชั้น ของการซ้อนทับกันของภาพเป็นชั้นๆ layer นั้น เปรียบเสมือนเเผ่นใส ที่เมื่อเรานำมาวางซ้อนกัน ก็จะสามารถมองเห็น ภาพที่เกิดจากการซ้อนกันของแผ่นใสได้เหมือนเป็นภาพเดียว Layer กืคือสิ่งที่ใช้บรรจุ ออปเจ็ค เช่นภาพ , ตัวหนังสือ ฯลฯ Layer สามารถบรรจุออปเจ็กต่างๆ ได้ เช่น ภาพ ,ตัวอักษร ฯลฯ - สามารถวางลงบนเอกสาร และคุณสามารถเคลื่อนไปรอบๆ ถ้าทำการเคลื่อน Layer หมายความว่าออปเจ็กที่อยู่ใน Layer ได้เคลื่อนตามไปด้วย เลเยอร์

       Layer ชิ้นงานย่อย หรือเรียกให้เข้าใจง่ายคือ ชั้นของชิ้นงานใหญ่ เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Photoshop นั่นคือการนำชั้นต่างๆ มาผสมกันเพื่อปรับแต่งให้เกิดความสวยงามมากขึ้น

      ส่วนประกอบของ Layers
         

        เราสามารถทำอะไรกับเลเยอร์ได้บ้าง

        1 แสดงหรือซ่อน (Show or Hide Layer) การคลิกที่รูปดวงตาแต่ละครั้ง จะเป็นการเปิดเพื่อแสดง หรือปิดเพื่อซ่อนสิ่งที่อยู่ในเลเยอร์ เช่น ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงภาพของเลเยอร์ใด ก็ทำการปิด หรือซ่อนไป

        2 คัดลอก และ ทำซ้ำเลเยอร์ (Copy and Duplicate Layer) แบ่งเป็น

            2.1 การคัดลอกเลเยอร์จากชิ้นงานหนึ่งไปยังอีกชิ้นงานหนึ่ง ทำได้หลายวิธี

                • คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Duplicate Layer... จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง ใส่ชื่อในช่อง Destination ให้เป็นชื่อชิ้นงานที่เราต้องการนำเลเยอร์นี้ไปไว้

                • คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก คลิกขวาที่เม้าส์ เลือก Duplicate Layer จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง ใส่ชื่อในช่อง Destination ให้เป็นชื่อชิ้นงานที่เราต้องการนำเลเยอร์นี้ไปไว้

                • คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอกค้างไว้ แล้วลากไปยังอีก Tab ของอีกชิ้นหนึ่งโดยตรง

            2.2 การคัดลอกเลเยอร์ในชิ้นงานเดียวกัน

                • คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Duplicate Layer จะมีหน้าต่างเหมือนภาพที่ด้านบนเช่นกัน แต่ช่อง Destination ไม่ต้องกำหนดชื่อชิ้นงานอื่น ดังรูป

                • คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก New เลือก Layer via Copy (คีย์ลัด Ctrl + J)

                • คลิกที่เลเยอร์นั้น และกดคีย์ Alt พร้อมกับลากเลเยอร์ไปยังตำแหน่งใน Panel ที่ต้องการวาง ปล่อยเม้าส์

        3 ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ (Move Layer)

            ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านั้น ดังรูป

        4 เพิ่มเลเยอร์ (Add Layer)

            คลิกไอคอน Create a new Layer ซึ่งอยู่ด้านล่างของ Layer Panel ติดกับรูปถังขยะ ก็จะได้เลเยอร์เพิ่มแล้ว

            หรือถ้าต้องการใช้คำสั่งจากเมนูโปรแกรม เลือก Layer เลือก New เลือก Layer ตั้งชื่อ และ Enter ก็ได้เหมือนกัน

        5 ลบเลเยอร์ (Delete Layer)

            วิธีลบเลเยอร์ทำโดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Backspace หรือใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Delete เลือก Layer หรือโดยการคลิกที่เลเยอร์แล้วลากมาที่รูปถัง

        6 การล็อค และ ปลดล็อค เลเยอร์ (Lock and Unlock Layer)

            การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน

        7 ตั้งชื่อเลเยอร์ (Name Layer)

            วิธีตั้งชื่อให้กับเลเยอร์ ทำโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อบนเลเยอร์นั้น และพิมพ์ชื่อ เสร็จแล้ว Enter สำหรับ Photoshop CS6 เมื่อพิมพ์ชื่อเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว สามารถกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังเลเยอร์อื่นเพื่อทำการพิมพ์ชื่อได้เลย ไม่ต้องมาทำซ้ำขั้นตอนเดิม ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก

        8 คลิปปิ้งเลเยอร์ (Clipping Layer)

            หมายถึงการทำให้เลเยอร์หนึ่งมีผลกับอีกเลเยอร์หนึ่งเท่านั้น ไม่ไปกระทบเลเยอร์อื่นซึ่งอยู่ถัดลงไป อ่านแล้วคงจะ งง ลองดูภาพด้านล่างนะครับ จากภาพจะเห็นเลเยอร์ Wood Gain ซึ่งเป็นลายไม้ ผมต้องการให้ลายไม้นี้มีผลกับกรอบภาพซึ่งเป็นเลเยอร์ Frame ที่อยู่ถัดลงไปด้านล่างเท่านั้น ผมจึงใช้การ Clipping ซึ่งจะเห็นลูกศรอยู่ที่ด้านหน้านของเลเยอร์ Wood Gain การทำเช่นนี้ จะทำให้ได้กรอบภาพที่มีลายไม้สวยงามขึ้นมาแทนกรอบสีแดงเหลือง ในเลเยอร์ Frame

            การทำ Clipping โดยการใช้คีย์ลัด ให้กดปุ่ม Alt แล้ววางเม้าส์ไว้ระหว่างทั้งสองเลเยอร์ จากนั้นคลิก หรือถ้าจะใช้คำสั่งโปรแกรมเมนู Layer เลือก Create Clipping Mask (คีย์ลัด Alt + Ctrl + G) ถ้าต้องการยกเลิกก็เพียงแค่ทำซ้ำวิธีเดิม โปรแกรมเมนู Layer เลือก Release Clipping Mask หรือ กดปุ่ม Alt แล้วคลิกเม้าส์ที่เดิมอีกครั้ง